วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เม่นแคระสัตว์เลี้ยงผู้น่ารัก





 ปัจจุบันมีสัตว์มากมายหลายชนิดเข้ามาเพิ่มทางเลือกให้กับคนรักสัตว์รุ่นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ดังนั้น สัตว์เลี้ยงของพวกจึงต้องมีวิธีการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องการพื้นที่มากนัก แตกต่างไปจากสัตว์เลี้ยงพื้นฐาน เช่น สุนัข หรือแมว และหนึ่งในสัตว์เลี้ยงหน้าใหม่ที่ก้าวเข้ามาแบ่งปันความรักจากคนเลี้ยงสัตว์ไปไม่น้อยก็ได้แก่ เม่นแคระ หรือ African pygmy hedgehog

           เม่นแคระ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีหนามแหลมทั่วลำตัว แต่สามารถจับสัมผัสได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกสลัดขนใส่หากจับอย่างถูกวิธี และมันไม่ต้องการการดูแลมากนัก อีกทั้งยังมีเสน่ห์เฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการขดตัวม้วนกลมอันเป็นเอกลักษณ์น่ารักโดดเด่น ซึ่งเป็นการป้องกันตัวเองจากศัตรูนั่นเอง

อุปนิสัยของ เม่นแคระ

            เม่นแคระ เป็นสัตว์สันโดษ ชอบอยู่ตัวเดียว และหวงถิ่น ดังนั้น ไม่แนะนำให้เลี้ยงรวมกัน ไม่เช่นนั้น เม่นแคระ อาจกัดกัดจนเสียชีวิตได้ หากเลี้ยงมากกว่า 1 ตัว ต้องแยกพื้นที่ในการเลี้ยงดูออกจากกันอย่างชัดเจน

            เม่นแคระ จะตื่นในเวลากลางคืน และนอนตอนกลางวัน กิจกรรมทุกอย่างจึงถูกกระทำตลอดคืน เช่น เดินไปมาในกล่อง ยกถ้วยอาหารเล่น กัดกินอาหาร กินน้ำจากขวด ฯลฯ

            เม่นแคระ ไม่ใช่สัตว์ที่มีนิสียชอบมาคลอเคลียกับผู้เลี้ยง และมันก็ไม่ฉลาดเหมือนสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอื่น ๆ เช่น กระต่าย หรือแก๊สบี้

            เม่นแคระ ที่มีขนแหลม ๆ ทั่วตัวนั้น อาจทำให้มือของคุณบาดเจ็บได้ หากจับไม่ถูกวิธี หรือทำให้เขาตกใจ หรือเม่นไม่มีความคุ้นเคยกับคุณ

            เม่นแคระ มักจะกัดและเคี้ยววัตถุหรือสิ่งของแปลก ๆ ที่มันไม่กลิ่น จนเกิดเป็นฟองน้ำลาย แล้วนำฟองน้ำลายมาแปะติดไว้ตามตัว เพื่อจดจำกลิ่น หรือปรับตัวเองให้มีกลิ่นเหมือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยตามปกติ ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงควรระมัดระวังอย่าให้ เม่นแคระ ไปกัด หรือเคี้ยววัตถุมีพิษ

สีของเม่นแคระ 

           เม่นแคระแต่ละสีที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบันมีหลากหลายสี โดยแต่ละสีจะเห็นเด่นชัดในช่วงวัยที่ต่างกันและไม่แน่นอน และเม่นแคระแต่ละสีนั้นก็มีราคาซื้อขายตามท้องตลาดแตกต่างกันด้วย เริ่มตั้งแต่ตัวละ 500 บาท จนถึงหลักพัน โดยสีที่ราคาสูงที่สุดคือ สีแอพริคอท ราคาตั้งแต่ 1,500-2,000 บาทขึ้นไป

            สีนอมอล-ขนหนามพาดด้วยสีดำ ผิวหนัง ตา จมูก หู มีสีดำ คล้ำ

            สีช็อกโกแลต-หนามพาดด้วยสีน้ำตาลเข้ม หน้า ผิวหนัง จมูก หู สีน้ำตาล ตาสีดำ

            สีบราวน์-หนามพาดด้วยสีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ ส่วนอื่นเป็นสีน้ำตาลอ่อน

            สีซินเนมอน-หนามพาดด้วยสีเทาน้ำตาล หน้าขาว ผิวหนังและหูสีชมพู ตาดำ หรือดำอมแดง จมูกสีตับอ่อน

            สีซินนิคอท-หนามพาดด้วยสีเทาอมส้ม หรือน้ำตาลอมส้ม ผิวหนัง หน้า จมูก หูมีสีชมพู ตาดำ

            สีแอพริคอท-หนามพาดสีส้ม หน้า ผิวหนัง จมูก หู มีสีชมพู ตาสีแดงเข้ม หรือสีทับทิม

            สีอัลบิโน่-หนามสีขาวล้วนทั้งเส้นไม่มีสีอื่นปน ตาสีแดงใส ส่วนอื่นมีสีชมพู

           เม่นแคระ กลุ่มสีพิเศษ อาทิ...

            เอ็กซ์-สโนว์แฟลก โดยรวมจะดูเหมือนกลุ่มสีพื้นข้างต้น แต่จะมีหนามสีขาวทั้งเส้น ขึ้นแซมอยู่ทั่วทั้งตัว ประมาณ 30-70%

            เอ็กซ์-ไวท์ โดยรวมจะดูเหมือนกลุ่มสีพื้นข้างต้น แต่จะมีหนามสีขาวทั้งเส้น ขึ้นแซมอยู่ทั่วทั้งตัวมากกว่า 95% (มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "ขาวตาดำ")

            เอ็กซ์-พินโต โดยรวมจะดูเหมือนกลุ่มสีพื้นข้างต้น แต่จะมีหนามสีขาวทั้งเส้น ขึ้นแซมอยู่เป็นกลุ่ม ๆ มีบริเวณ เป็นจุด ๆ

วิธีการเลี้ยงเม่นแคระ

           สำหรับที่อยู่ของ เม่นแคระ ควรมีอุปกรณ์พื้นฐาน ได้แก่ บ้านหรือโพรงเป็นมุมมืดไว้ให้เม่นได้นอนกลางวัน, ถ้วยสำหรับใส่อาหาร, ขวดน้ำ, ขี้เลื่อยสำหรับรองพื้นกล่อง เพื่อช่วยดูดซับของเสียจากการขับถ่ายของเม่นแคระ (แนะนำให้ใช้เป็นแบบก้อนอัดแท่ง เพราะสะอาดและประหยัด), วิตามินผสมน้ำเพื่อช่วยเพิ่มเติมสารอาหารที่ขาดหายไป

           ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยง เม่นแคระ แนะนำให้ใช้ อาหารแมว ไม่แนะนำให้ใช้อาหารสุนัข เพราะว่าเม็ดใหญ่กว่า และมีความแข็งมากกว่าอาหารแมว ทำให้เม่นแคระกัดกินลำบาก

           อย่างไรก็ตาม เม่นแคระ ไม่ใช่สัตว์ที่เลี้ยงยาก เพียงแต่นักเลี้ยงเม่นแคระ มือใหม่ ส่วนใหญ่มักเลี้ยงไม่รอด เนื่องจากซื้อลูกเม่นที่ยังไม่หย่านมมาเลี้ยง เปอร์เซ็นต์รอดชีวิตจึงต่ำมาก ซึ่งวิธีการเลือกซื้อเม่นแคระ มาเลี้ยงนั้น ให้สังเกตการเดิน โดย เม่นแคระ ที่หย่านมแล้วจะเดินได้ถนัด ไม่คลานเตาะแตะ จมูกชื้น มีสุขภาพดี ผมก้อนำคำแนะนำสำหรับการเลี้ยงซื้อลูกเม่นแคระมาเลี้ยงกันแค่นี้นะครับเอาไว้พบกันใหม่ในฉบับต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ชะมดเช็ด



ชะมดเช็ด


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Vivrricula malaccensis
ลักษณะทั่วไป :            เป็นชะมดที่มีขนาดเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลแกมเหลือง มีแถบขนาดเล็กสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาวตลอดลำตัว 5 แถบ นอกจากนั้นทั่วลำตัวมีจุดแต้มสีน้ำตาลเข้มหางเป็นปล้องดำสลับขาว 6-9 ปล้อง ปลายหางสีขาว มีต่อมกลิ่นที่โคนขาหลังออกหากินในเวลากลางคืนอาหาร ได้แก่ หนู นก งู กิ้งก่าและลูกไม้
ถิ่นอาศัย, อาหาร :      ประเทศพม่า ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย และจีน พบบริเวณทุ่งหญ้า หรือป่าละเมาะ หากินบน พื้นดินมากกว่าบนต้นไม้
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :       ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว

ลิงลม(นางอาย)


ลิงลม(นางอาย)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Nycticebus coucang
ลักษณะทั่วไป :            รูปร่างเล็กขนนุ่มสั้นหนาเป็นปุย มีเส้นสีน้ำตาลเข้มจากหัวไปตลอดแนวสันหลัง หน้าสั้น ตาโตกลม ใบหูเล็กจมอยู่ในขน ไม่มีหาง ไม่มีนิ้วหัวแม่มือ นิ้วเท้าอันที่สองมีเล็บเป็นตะของอโค้ง ทั้งนี้เพื่อจับกิ่งไม้ได้แน่นในขณะมันลุกขึ้นยืนเพื่อจับแมลงกินเป็นอาหาร ป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า แต่แว้งกัดได้รวดเร็ว
ถิ่นอาศัย, อาหาร :      พบในไทย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และมินดาเนา กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ ไข่นก และผลไม้
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :       หากินบนต้นไม้เฉพาะในเวลากลางคืน และออกหากินตัวเดียว เว้นแต่ตัวที่มีลูกอ่อนจะเอาลูกเกาะติดอกไปด้วย กลางวันจะซ่อนหน้าเพื่อหลบแสงสว่าง โดยใช้ใบไม้บังหรืออยู่ในโพรงไม้ เมื่อมีอายุ 2 ปีจึงผสมพันธุ์ได้ เป็นสัดนาน 56 เดือน และมีทุกระยะ 3745 วัน ตั้งท้องประมาณ 193 วัน ออกลูกปีละ 2 ครั้ง ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกอ่อนจะอยู่กับแม่จนตัวเกือบเท่าแม่จึงจะแยกออกไปหากินเอง ซึ่งกินเวลานานราว 69 เดือน และมีอายุยืนประมาณ 10 ปี

แมงมุมหมาป่า


แมงมุมหมาป่า


ภาพลักษณ์

ตัวเต็มวัย เพศเมียมีขนาด: 8 มม; เพศผู้ - 6 มม. และมักมีสีน้ำตาลถึงเทา
วงจรชีวิต
แมงมุมชนิดนี้ตัวแม่จะหอบหิ้วถุงไข่ของมันติดไว้กับอวัยวะสร้างใยใต้ช่องท้อง
เมื่อลูกแมงมุมฟัก มันจะคลานขึ้นไปอยู่บนหลังของแม่เพื่ออยู่อาศัยในช่วงสัปดาห์แรกๆของชีวิตมัน
นิสัย
พวกมันจะล่าเหยื่อตอนกลางคืนและจะใช้เวลาตอนกลางวันซ่อนตัวในพืชพวกมอสหรือพวกซากปรักหักพัง
พวกมันมักอาศัยในหนองน้ำตื้นที่มีทางเข้าเปิดและรกร้าง
สำหรับเจ้าแมงมุมหมาป่าผมก้อนำความรู้มาฝากกันแค่นี้..เอาไว้พบกับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่ผมจะนำมาแนะนำกันนะครับ

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คามิเลี่ยน กิ้งก่า

คามิเลี่ยน กิ้งก่า เปลี่ยนสีได้ ดาวเด่นจาก มาดากัสการ์


หากเอ่ยถึง กิ้งก่า หลายคนคงส่ายหน้า เพราะไม่พิศมัยกับรูปร่างหน้าตาของมันสักเท่าไหร่ แต่คุณอาจเปลี่ยนใจ หากได้ยลโฉมเจ้า กิ้งก่า คามิเลี่ยน เหตุเพราะศิลปะแห่งสีสันบนเรือนร่างของมันสวยสะดุดตา อีกทั้ง กิ้งก่า คาเมเลี่ยน ยังสามารถเปลี่ยนสีตัวเองตามแสงและสภาพแวดล้อมได้อย่างน่าทึ่ง ซึ่งใครที่นิยมชมชอบ สัตว์เลี้ยง สัตว์แปลก วันนี้เรานำข้อมูล กิ้งก่า คามิเลี่ยน มาฝากกันครับ

          กิ้งก่า คามิเลี่ยน (Chameieon) เป็นกิ้งก่าสายพันธุ์หนึ่งที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ในตระกูลสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีขนาดเล็ก ตั้งแต่ 8-12 นิ้ว มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในดินแดนมาดากัสการ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งอาศัยใหญ่ของ กิ้งก่า คามิเลี่ยน

          โดยปกติแล้ว กิ้งก่า คามิเลี่ยน จะอาศัยตามหมู่เกาะต่าง ๆ ที่มีสภาพป่าโปร่งที่สมบูรณ์ และมักจะอาศัยอยู่บนต้นไม้ เกาะตามกิ่งไม้ ยอดไม้นิ่ง ๆ ด้วยเท้าที่สามารถเกาะกิ่งก้านของต้นไม้ได้อย่างดี น้อยครั้งที่จะพบเห็น กิ้งก่า คามิเลี่ยน อาศัยตามพื้นดิน นอกเสียจากจะลงมาวางไข่เพื่อขยายพันธุ์ โดยจะใช้เท้าขุดดินลงไปให้ลึกพอสมควร แล้วจึงวางไข่ลงไปในนั้น จนสุดท้ายก็กลบปากรูเอาไว้ และกลับขึ้นมาอาศัยอยู่บนต้นไม้ตามเดิม

          นอกจากคุณสมบัติเด่นในเรื่องของสีสันอันฉูดฉาดของ กิ้งก่า คามิเลี่ยน ที่มีมีหลากหลายสี เช่น แดง ฟ้า เขียว เหลือง ส้ม น้ำตาล หรือดำ ฯลฯ แล้ว กิ้งก่า คามิเลี่ยน ยังมีจุดเด่นที่ดวงตากลมโตของมันนูนเป็นวงกลมโต มีเปลือกตาขนาดใหญ่ หนาเป็นชั้น ปิดลูกตา กลอกกลิ้งเหลือบมองไปมาได้รอบทิศทาง   

          ว่ากันว่า ยามที่เจ้า กิ้งก่า คามิเลี่ยน ขยับตัวต้องจับตาดูไว้ให้ดี ๆ เพราะฝีมือในการพรางตัวของมันช่างเยี่ยมยอดนัก ทว่ามันก็เป็น จอมเชื่องช้าตัวยง เพราะยามที่ คาเมเลี่ยน ออกเดินจะเชื่องช้ามากถึงมากที่สุด เพราะยามที่ คาเมเลี่ยน ย่างสามขุมออกเดิน มันจะยกขาก้าวไปค้างอยู่ในอากาศก่อนหนึ่งจังหวะ จากนั้นจึงค่อยกรอกตากลม ๆ ไปมารอบทิศทาง ประหนึ่งว่ากำลังระวังภัยเต็มที่ ก่อนที่จะก้าวสัมผัสกับเป้าหมายในในจังหวะต่อไป

ลักษณะทั่วไปของ กิ้งก่า คามิเลี่ยน

           ผิวหนัง : สามารถเปลี่ยนสีผิวตามอารมณ์นั้น ๆ ได้ ก็เนื่องมาจากลักษณะพิเศษของชั้นผิวหนัง และเม็ดสี ผิวหนังชั้นนอกเหล่านี้ตอบสนองต่อแสงและความร้อน ส่วนผิวหนังชั้นในจะตอบสนองต่อสารเคมี เป็นสาเหตุทำให้เซลล์มีการหดและขยายตัว อย่างเช่นในภาวะปกติผิวหนังของ คามิเลี่ยน จะแสดงสีเขียว ในขณะที่โกรธจะแสดงสีเหลือง

           ตา : ตาของ คามิเลี่ยน มีลักษณะเป็นวงกลมค่อนข้างใหญ่ นูนขึ้นมาและมีขนาดใหญ่ โดยมีเปลือกตาที่ใหญ่และหนาเป็นชั้น ๆ มาปิดลูกตาทำให้มองเห็นลูกตาขนาดเล็ก ซึ่งสามารถมองเห็นได้รอบทิศทางในรัศมีความกว้าง 360 องศา ทั้งสองข้างแบบไม่พร้อมกัน นอกจากนี้ตาของ คาเมเลี่ยน ยังสามารถบอกสุขภาพของมันได้อีกด้วย ซึ่งกิ้งก่าที่ใกล้ตาย หรือขาดน้ำ ตาจะลึกลงไปมาก หากเราพบเห็นตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถเสริมน้ำและวิตามินได้

           หาง : หางของกิ้งก่า คามิเลี่ยน มีประโยชน์เพื่อการเกาะกิ่งไม้เอาไว้ โดยการม้วนหาง แต่บางครั้งก็มักเห็นม้วนหางเอาไว้เฉยโดยไม่เกาะกับอะไรเลย เมื่อเราจับหางยืดออกมาพบว่าส่วนหางนี้มีขนาดยาวมาก ยาวมากกว่าขนาดลำตัวเสียอีก บางครั้งสามารถใช้หางยึดกิ่งไม้แทนขาได้ เช่นการม้วนหางยึดต้นไม้แล้วห้อยหัวลงมาเพื่อใช้ลิ้นตวัดแมลงเข้าปาก

           เท้า : มีลักษณะเท้าที่เป็นเอกลักษ์ คือ มีนิ้วเท้าทั้งหมด 5 นิ้ว และมีเล็บทุกนิ้ว แต่ว่านิ้ว 5 นิ้วนั้นจะแยกออกเป็น 2 ง่าม แบ่งเป็น 2 นิ้วและ 3 นิ้วติดกัน เวลาเดินจะใช้ง่ามหนีบกิ่งไม้ ด้วยนิ้วเท้าลักษณะนี้ทำให้สามารถทรงตัวได้ดีบนต้นไม้

           ลิ้น : ลิ้นของ คามิเลี่ยน มีความยาวมาก ยาวพอ ๆ กับความยาวลำตัว ไว้สำหรับจับแมลงต่าง ๆ เพื่อเป็นอาหาร ที่บริเวณปลายลิ้นยังจะมีสารเหนียวไว้คอยจับแมลง มีลักษณะคล้ายท่อกลมที่ปลายลิ้น ไว้จับแมลงแล้วดึงเข้าปากและกลืนแมลงเข้าปากโดยเร็ว

อาหารและการเลี้ยงดู กิ้งก่า คามิเลี่ยน



คามิเลี่ยน


          แม้ว่า คาเมเลี่ยน จะเชื่องช้าในลีลาท่วงท่าการเคลื่อนไหว ทว่าในเรื่องการกินแล้ว คามิเลี่ยน จะใช้ลิ้นยาว ๆ ของมันตวัดอาหาร หรือเหยื่ออันโอชะแบบรวดเร็วจนคุณกระพริบตาแทบไม่ทัน  โดยอาหารที่ใช้เลี้ยง คามิเลี่ยน  เป็นพวกแมลงตัวเล็ก ๆ เช่น จิ้งหรีดตัวเล็ก ๆ หนอน แมงเม่า ปลวก ฯลฯ โดยให้แมลงหรือตัวหนอน 2 ครั้งต่อวัน และคลุกกับวิตามินรวม 2 ครั้งต่อสัปดาห์

          นอกจากนี้ สถานที่เลี้ยง กิ้งก่า คามิเลี่ยน  ก็มีความสำคัญ ตามธรรมชาติมันจะอาศัยตามต้นไม้กิ่งไม้ เราจึงควรจัดสถานที่เลี้ยงให้เข้ากับระบบนิเวศน์ของมัน โดยหาต้นไม้ที่ค่อนข้างมีกิ่งพอควรแต่ไม่ต้องมีใบมากนัก

          สำหรับกรงเลี้ยง คามิเลี่ยน ที่ดีควรมีขนาดอย่างน้อย 24 นิ้ว หรือ 48 นิ้ว โดยกรงควรจะมีทั้งความสูงและความกว้าง ทั้งนี้ ตู้ที่ใช้เลี้ยง คามิเลี่ยน ก็ทำจากวัสดุหลายประเภท ทั้งมุ้งลวดหรือกระจก การเลี้ยงในตู้กระจกมักจะใช้เลี้ยง คามิเลี่ยน ก่อนวัยเจริญพันธุ์ แต่ไม่สามารถระบายอากาศได้ดี ทำให้มีโอกาสเกิดความเครียดจนทำให้ กิ้งก่า คามิเลี่ยน ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ ดังนั้น ตู้กระจกจึงไม่เหมาะกับการเลี้ยงในระยะยาว เนื่องจากจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย ส่วนกรงมุ้งลวดนั้นนิยมใช้กันมาก เนื่องจากระบายอากาศได้ดี เคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ไม่สามารถกันฝนได้ ในกรณีที่เลี้ยงนอกบ้าน

          ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ แสง กิ้งก่า คามิเลี่ยน ต้องการแสงยูวี ในการดำรงชีวิต ดังนั้น ในกรงที่เลี้ยงด้านบนควรมีติดหลอดไฟไว้ด้วย เพราะ คามิเลี่ยน มักขึ้นมาอาบแดดในช่วงกลางวัน โดยอุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 30 - 35 องศาเซลเซียส ซึ่งผู้เลี้ยง คามิเลี่ยน  ส่วนใหญ่นิยมใช้หลอดไฟ 60
สำหรับเจ้ากิ้งก่าคามิเลี่ยนผมก้นำข้อมูลมาฝากกันแค่นี้...เอาไว้เจอกันใหม่กับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่จะนำมาให้รู้จักกันนะครับ