เต่ามาทามาท่า (Chelus fimbriatus) คือเต่าน้ำจืดที่สามารถพบได้ในแม่น้ำอะเมซอนและโอริโนโค่ในทวีปอเมริกาใต้
เจ้าเต่าหน้าตาประหลาดนี้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ในน้ำตื้นๆซึ่งมันสามารถโผล่หัวขึ้นมาหายใจได้
เต่ามาทามาท่ามีขนาดค่อนใหญ่ประมาณ 15 กก. พวกมันกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและปลาเป็นอาหาร
เจ้านี้ไม่เป็นอันตรายอยู่มนุษย์ถึงแม้ว่าจะมีหน้าตาขัดกันก็ตาม
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556
หนูยักษ์คาพีบารา
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน ฉบับนี้นี้ผมขอเเนะนำให้รู้จัก กับ
เจ้าหนูยักษ์คาพีบารา สัตว์ฟันเเทะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydrochoerus hydrochaeris
ลักษณะทางกายวิภาค นิ้วเท้าหน้ามี4นิ้ว หลังมี
3นิ้ว เเต่ละนิ้วมีผังพืด ช่วยในการว่ายน้ำ มีขนหยาบ ฟันหน้าขนาดใหญ่2ซี่
หน้าคล้ายม้า
อัตราการโต
อาจมีขนาดตัวยาวได้ถึง135ซม.หนัก65กก.
การเลี้ยงดู
ควรเลี้ยงในพื้นที่กว้างมีบ่อน้ำเเละที่หลบเเดดหลบฝน
อุปนิสัย ใจเย็น
เชื่องกับคนเเละสัตว์ที่เป็นมิตร ตกใจง่าย ชอบว่ายน้ำมาก ชอบนอนกลางวันในน้ำ
อยู่รวมกันเป็นฝูง
อาหาร ผักผลไม้อาหารกระต่ายเมล็ดพืชหญ้า
ข้อพึงระวังในการเลี้ยง เป็นพาหะของโรคไข้หัด Rocky moumtain spotted fever ซึ่งก็จัดเป็นโรคที่มีความอันตรายเช่นกัน
หากไม่ได้รับการดูเเลเอาใจใส่
อาจกัดได้เมื่อถูกรุกลานไม่ว่าคนเเละสัตว์เเต่ส่วนมากจะเดินหนี
ข้อสังเกตุเมื่อไม่สบายเเละโรคที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงการรักษา
1 เกิดจากความเครียดหากรบกวนมากเกินไป
การรักษา
ให้เวลาส่วนตัวเค้าให้มากดูเเลอยู่ห่างๆ
2 ไม่อยากอาหารเเละร่างกายผอมลง
เนื่องมาจากระบบทางเดินอาหารอุดตัน เกิดจากการกินสิ่งเเปลกปลอมเข้าไป เช่นถุงพลาสติก
การรักษา เป็นการรักษาที่ลำบาก เพราะ เครื่องx-ray ไม่สามารถ
ถ่ายติดได้เนื่องจากความใสของถุงพลาสติก
ดังนั้นอาจจะต้องผ่าตัดในบางกรณีหากร้ายเเรงมาก
3 อยากอาหารมากเเต่ร่างกายผอมลง
เนื่องมาจากพญาธิ ภายในร่างกาย
การรักษา สามารถใช้ยาถ่ายพญาธิของสุนัขได้
4ตามตัวมีตุ่มขึ้นมาก เนื่องมาจากพญาธิภายนอก
เช่น เห็บ หมัดไร
การรักษา
สามารถใช้ยากันเห็บหมัดเเละพญาธิหัวใจของสุนัขได้
ข้อความที่ได้กล่าวมานี้
ได้มาจากประสบการ์ณการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ด้วยตัวผมเองหากมีสิ่งใดผิดไปก็ขออภัยไว้
ณ ที่นี้ ด้วย ขอบคุณมากครับ
วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556
"ดอร์เมาส์" กระรอกจิ๋ว อัศจรรย์
คงเป็นไปได้ยากหากจะจับกระรอกธรรมชาติมาเลี้ยงให้เชื่องโดยง่าย
นอกเสียจากจะเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็กคอยป้อนอาหาร ป้อนนม จนมันคุ้นชิน
แล้วดูแลเอาใจใส่จนมันเติบโตกลายเป็นกระรอกเต็มวัยขนาดพอสองอุ้งมือ
แต่ถ้าเป็นกระรอกบางชนิด แม้คุณจะเลี้ยงให้โตแค่ไหน
มันก็จะมีขนาดเพียงอุ้มมือเดียวเท่านั้น!! ราวกับว่ามันเป็นลูกกระรอกไม่ยอมโต
เหมือนกับเจ้า "ดอร์เมาส์" (dormouse) สัตว์เลี้ยงตัวจิ๋วของ
คุณปีย์ชนิตว์ เกษสุวรรณ หรือ คุณปีย์
หนุ่มเชียงใหม่ ที่ชื่นชอบกระรอกชนิดนี้เป็นพิเศษ ขณะที่เมืองไทยยังไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก
แต่เขาก็ศึกษาและเสาะหามาเลี้ยงได้อย่างดี โดยเริ่มจากการหาซื้อทางเว็บไซต์ 1
คู่ จนสามารถขยายพันธุ์และเลี้ยงดูดอร์เมาส์ จำนวน 10
ตัว ในปัจจุบัน
"ผมเริ่มรู้จักกับเจ้ากระรอกจิ๋วเมื่อราวปลายปี
49 จากที่โพสต์ไว้ในเว็บไซต์สัตว์เลี้ยงของไทยที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน
หลังจากนั้นราวเดือนมีนาคม 50
มีร้านสัตว์เลี้ยงในจตุจักรก็ได้นำดอร์เมาส์ เข้ามาขาย แต่ราคาค่อนข้างแพง
ผมจึงไม่ได้ซื้อไว้ในตอนแรก ต่อมาไม่นานก็มีคนเลี้ยงประกาศขายเองทางอินเตอร์เน็ต
เลยตัดสินใจซื้อมาเลี้ยง 1 คู่ จนปัจจุบันมีประสบการณ์มากขึ้น
และสนุกกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้" คุณปีย์ เล่า
นักวิทยาศาสตร์จัดดอร์เมาส์แยกออกจากกลุ่มหนูและกระรอก ซึ่งมีมากกว่า 20
สายพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และแอฟริกา โดยแต่ละชนิดมีถิ่นที่อยู่
สีสัน และขนาดที่แตกต่างกันไป แต่เกือบทุกชนิดมีลักษณะรูปร่าง และนิสัยคล้ายกระรอก
ซึ่งดอร์เมาส์ที่คุณปีย์เลี้ยงไว้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด คือ
"ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์" (African pygmy dormouse) มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตอนกลางจนถึงตอนใต้
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุด จนมีฉายาว่ากระรอกจิ๋ว (micro squirrels) เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวเพียง
3-4 นิ้ว มีน้ำหนักแค่ประมาณ 25-30
กรัม มีหางฟูยาวเท่ากับลำตัว สีขนด้านบนเป็นสีเทาอ่อน
แต่พออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ด้านท้องสีขาวครีม
คุณปีย์ บอกว่า ในประเทศไทยนับว่ามีการนำเข้าดอร์เมาส์จากแอฟริกา
และฟาร์มจากญี่ปุ่นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีจำนวนน้อยมากในบ้านเรา ส่วนชื่อดอร์เมาส์ มาจาก คำว่า
"Dor" ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า
"ผู้หลับใหล"
มันถูกเรียกตามพฤติกรรมที่ต้องนอนจำศีลตลอดฤดูหนาวที่อาหารขาดแคลน เมื่ออากาศเย็นลงดอร์เมาส์จะหาโพรงไม้
รังนกเก่า หรือแทะผลโอ๊กให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปจำศีล
แต่พฤติกรรมนี้จะไม่เกิดในเมืองไทย เพราะเป็นเมืองร้อน
ดังนั้นการเลี้ยงดอร์เมาส์จึงต้องมีจัดสถานที่และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม
"พวกมันเป็นสัตว์กลางคืน
แต่ในธรรมชาติพวกมันอาจจะหากินแทบทั้งวัน แต่ถ้าเลี้ยงในห้องที่มีแสงน้อย
ในช่วงกลางวันพวกมันจึงอาจจะออกมาวิ่งเล่นให้เห็นเช่นเดียวกัน
การเลี้ยงดอร์เมาส์ควรจัดให้อยู่ในอุณภูมิไม่ต่ำกว่า 70
องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 24 องศาเซลเซียส สามารถเลี้ยงในตู้ปลาขนาด 20
นิ้ว ที่ปิดด้วยตะแกรงโลหะขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร
เพราะเจ้ากระรอกจิ๋วมีขนาดเล็กมากและหลบหนีได้เก่ง 1
ตู้ เหมาะสมที่สุดสำหรับดอร์เมาส์ 1 คู่ นอกจากนั้น
ตะกร้าพลาสติคอย่างหนาที่มีตาข่ายค่อนข้างเล็กก็ใช้ได้ดี
โดยใส่วัสดุรองพื้นให้สูงประมาณ 2 นิ้ว จะใช้กระดาษฝอย ขี้เลื่อย
ซังข้าวโพด หรือทรายสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ก็ได้ แต่ควรใส่หญ้าแห้ง เศษผ้า
หรือเศษไหมพรมไว้ให้มันคาบไปรองรังนอนด้วย"
เมื่อเป็นสัตว์แสนซน สิ่งที่ควรจัดให้ดอร์เมาส์เพิ่มเติมก็คือ
ของเล่นสำหรับปีนป่าย เช่น กิ่งไม้แห้ง เชือก โพรงไม้ และวงล้อสำหรับแฮมเตอร์
เพราะในธรรมชาติพวกมันจะใช้เวลาส่วนมากปีนป่ายหาอาหารตามพุ่มไม้
ผู้เลี้ยงจึงสามารถนั่งมองเจ้ากระรอกจิ๋วแสดงกายกรรมอย่างร่าเริงได้ตลอด ทั้งคืน
และควรหาบ้านไม้สำเร็จรูปหรือกระถางดินเผาเล็กๆ
ที่กะเทาะให้มีช่องเข้าออกสำหรับให้มันเข้าหลบซ่อนในเวลากลางวัน เพื่อช่วยลดความเครียด
หรือเป็นรังนอนและรังคลอด
ส่วนอาหารของดอร์เมาส์ตามธรรมชาติมีหลากหลายเช่นเดียวกับสัตว์ฟันแทะทั่วไป
เมื่อนำมาเลี้ยงเองคุณปีย์บอกว่า สามารถผสมอาหารเองได้
โดยใช้อาหารเม็ดสำหรับหนูแฮมสเตอร์ อาหารแมวไขมันต่ำ อาหารนกเขา
กระดองปลาหมึกตำหยาบ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง อาหารหมูอ่อน และเสริมด้วยผลไม้สด
ผลไม้แห้ง นมอัดเม็ด โยเกิร์ต ไก่สุก ไข่ต้ม ผักสด จิ้งหรีด หนอนนก และขนมปัง
สลับสับเปลี่ยนกันไป โดยจัดถ้วยอาหารแห้งกับอาหารเปียก
ใช้ขวดน้ำแบบปลายลูกกลิ้งที่ทำจากสแตนเลส หรือใส่น้ำในถ้วยเล็กๆ
แต่ควรเปลี่ยนทุกวัน
ดอร์เมาส์ เป็นสัตว์สังคมจึงควรเลี้ยงรวมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม
แต่เมื่อตัวผู้โตขึ้นจะเริ่มทะเลาะกันเพื่อแย่งกันผสมพันธุ์กับตัวเมียที่อยู่ในฝูง
(ดอร์เมาส์ พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6 เดือน ขึ้นไป)
คุณปีย์บอกว่าอัตราส่วนในการเพาะพันธุ์ที่ได้ผลดีคือ ตัวผู้ 1
ตัว ต่อ ตัวเมีย 2 ตัว
ซึ่งสามารถสังเกตอาการตัวผู้ได้จากเสียงร้อง "คริกๆ" คล้ายจิ้งหรีด
หากผสมแล้วแม่หนูจะตั้งท้องราว 25-30 วัน และออกลูกครอกละ 2-10
ตัว ในต่างประเทศพบว่าดอร์เมาส์มีลูกได้ปีละครั้ง
แต่ด้วยอากาศในบ้านเราทำให้อาจจะมีลูกได้ถึงปีละ 3-4
ครั้ง และเจ้ากระรอกจิ๋วอาจมีอายุในที่เลี้ยงได้มากถึง 6 ปี
"เราจะทำให้ดอร์เมาส์คุ้นเคยกับผู้เลี้ยงได้
โดยแยกลูกหนูออกมาป้อนนมตั้งแต่เล็ก จนสามารถนั่งเล่นบนมือ ป้อนอาหาร
และไต่ตามตัวได้ แต่ต้องเริ่มจากช่วงแรกๆ คือไม่เกิน 3
สัปดาห์ หลังจากออกจากท้องแม่ แต่จากประสบการณ์ของผม การนำลูกหนูออกมาป้อนในช่วง 12-15
วัน ลูกหนูจะคุ้นมือเร็วกว่า แต่อัตราการรอดต่ำและกินนมยากกว่า ดังนั้น
ควรนำออกมาป้อนช่วง 18-20 วัน จึงจะปลอดภัย
อาหารที่ป้อนคือซีรีแล็คสูตรเริ่มต้น หรือจะใช้นมผงสำหรับลูกแมวแทน
แล้วผสมกับอาหารเสริมชนิดน้ำสำหรับเด็กก็ทำให้ลูกหนูมีสุขภาพดีได้เช่นกัน"
เมื่อลูกดอร์เมาส์มีอายุราว 30 วัน
แล้วผู้เลี้ยงลองยื่นมือลงไปแต่ถูกงับ!! คุณปีย์บอกว่าไม่ต้องตกใจ
เพราะมันจะงับเพียงเบาๆ เพื่อสำรวจอาหาร พอมันโตขึ้นและคุ้นเคยกับเรา
อาการงับจะลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยของเจ้ากระรอกจิ๋วแต่ละตัวด้วยเช่นกัน
แต่หากมันคุ้นเคยกับคนเลี้ยงแล้ว หากจะนำออกมาเล่น ควรยื่นมือลงไปให้มันรู้ตัวก่อน
แล้วจึงรวบส่วนลำตัวขึ้นมาด้วยอุ้งมือ ส่วนตัวที่ไม่คุ้นเคยกับคน
ควรกำมือแล้วใช้ร่องระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้รวบหนังบริเวณหลังแล้วยกขึ้น
ไม่ควรใช้วิธีจับที่หาง เพราะอาจจะทำให้ดอร์เมาส์แว้งกัด หรือหางขาดได้
และไม่ควรแหย่มือ แบบผลุบโผล่ลงไปในกรง เพราะทำให้หนูตกใจ
และอาจจะกัดเพื่อป้องกันตัวได้ และต้องล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง
"ผู้เลี้ยงหลายคนมักจะทอดทิ้งดอร์เมาส์ของตนเองเมื่อโตขึ้น
เนื่องจากพวกมันไม่มีนิสัยออดอ้อนเหมือนสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ แต่กลับชอบซ่อนตัว
ไม่ชอบแสง เคลื่อนไหวรวดเร็ว และระแวงตัวสูง
เพราะเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ตามธรรมชาติ ทำให้มันค่อนข้างตื่นง่าย
ชอบซุกซ่อนและกลัวสิ่งที่เคลื่อนไหววูบวาบ แต่ผู้เลี้ยงก็มีความสุขที่ได้ลูบคลำเจ้ากระรอกจิ๋วตัวอ้วน
ได้จัดมุมของเล่นในตู้ และนั่งดูมันแสดงกายกรรมอย่างคล่องแคล่ว วิ่งเล่นในวงล้อ
หรือนั่งแทะอาหาร ช่วยลดความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานไปได้มาก
ถ้าผู้เลี้ยงเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกมันให้ดี และให้เวลากับมันเพียงพอ
ก็จะช่วยลดปัญหาการทิ้งขว้างสัตว์ เพราะเริ่มเบื่อหน่ายได้"
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ดอร์เมาส์เกือบทุกชนิดไม่ใช่สัตว์คุ้มครอง
(ยกเว้นสายพันธุ์เฉพาะถิ่นในเกาะญี่ปุ่น)
หรือไม่มีรายงานการระบาดของโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย ซึ่งเคยมีประวัติในอเมริกา
เพราะลักลอบการนำเข้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย
แต่ในบางประเทศก็มีการห้ามนำเข้าดอร์เมาส์
เพราะหากไม่มีการควบคุมตามธรรมชาติอาจจะกลายเป็นศัตรูพืชได้
วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556
อัฟกัน ฮาวนด์ (Afghan Hound) งามสง่า รักสันโดด จงรักภักดี
ลักษณะทั่วไป
อัฟกาน ฮาวน์ เป็นสุนัขที่มีความสง่างาม
ดูแล้วเป็นสุนัขที่มีความคลาสสิคมากในตัว เมื่อมองจากด้านหน้าจะดูตรงหัวเชิด
ตรงคอยาวโค้งได้สัดส่วน ขนยาว
ท่วงท่าในการเคลื่อนไหวจะต้องสง่าวามให้สมกับที่ฝรั่งเขาตั้งให้ว่าเป็น THE KING OF DOG
ความเป็นมา
จากประเทศที่เขาทำให้ได้ชื่อนี้มาอัฟกัน ฮาวนด์
เป็นสุนัขประจำชาติถึงแม้ว่าจะไม่เป็นทางการก็ตาม ชนพื้นเมืองอัฟกัน
เชื่อว่าสุนัขพันธุ์นี้คือสุนัขในภาพวาดบนผนังถ้ำในตอนเหนือของประเทศ แคว้นบัคก์
ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สุนัขพันธุ์อัฟกัน ฮาวนด์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า บัลก์ฮาวนด์
พวกเขาเป็นนักล่าด้วยสายตามากกว่าการดมกลิ่น เนื่องจากมีสายตาที่ฉับไวเป็นเลิศ
และมีความว่องไวซึ่งเป็นสิ่ง
สำคัญในการไล่ล่าเหยื่อขนที่หนาฟูปกป้องพวกเขาจากอากาศหนาวจัดในบริเวณตอนเหนือที่มีหิมะตก
และในขณะเดียวกันก็ป้องกันพวกเขาจากแสงแดดที่รุนแรงของทะเลทรายอุ้งเท้าที่หนาและใหญ่
และขาหลังที่แข็งแรง ทำให้พวกเขาสามารถเดินทางข้ามทะเลทราย
ร้อนจัดหรือบนเขาขรุขระได้
ลักษณะนิสัย
กล่าวว่านิสัยดีแต่โดดเดี่ยว รักสันโดด พวกเขามีความจงรักภักดี
และเชื่อฟังคำสั่งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าขณะที่เป็นลูกสุนัขเขาจะไม่ชอบเล่นสนุกเหมือนสุนัขทั่วๆไป
โดยรวมแล้ว สุนัขพันธุ์นี้เข้ากันได้ดีมากกับเด็ก ๆ
ไม่ว่าจะคุณจะพาเขาเข้าบ้านตั้งแต่เป็นลูกสุนัขหรือตอนโตแล้ว แล้วก็ตาม
พวกเขายังสามารถปรับตัวให้เข้ากับกิจวัตรภายในบ้านได้อย่างไม่ขัดเขิน
หากคุณพาเขาไปข้างนอก ก็ไม่ควรปล่อยให้เขาเดินเล่นโดยไม่มีสายตูง
เพราะทันทีที่สายตาเขาเล็งเห็นเป้าหมายที่น่าสนใจ ประสาทหู
ของเขาจะไม่ได้ยินเสียงคำสั่งของคุณอีกต่อไป
การดูแล
สำหรับสุนัขชนิดนี้ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องล้อมรั้ว
เนื่องจากสายตาที่ว่องไวของเขามักจะก่อให้เกิดปัญหา ควรให้เขาได้ ออกกำลังกาย
อาบน้ำและได้รับการดูแลรักษาขนอย่างสม่ำเสมอ
รวมถึงการให้อาหารที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตตั้งแต่ยังเป็นเด็กและควรจะเตรียมน้ำสะอาดให้
พวกเขาตลอดเวลาด้วย
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้เลี้ยงที่เข้าใจว่าพวกเขาต้องการออกกำลังกายและให้ความสำคัญต่อการดูแลขนอย่างสม่ำเสมอก็สามารถเป็นเจ้าของสุนัขพันธุ์นี้ได้
มาตรฐานสายพันธุ์
ขนาด
ตัวผู้สูง
27 นิ้ว ตัวเมียสูง 25 นิ้ว อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าไม่เกินหนึ่งนิ้ว
น้ำหนักตัวผู้ประมาณ 28 กก. ตัวเมียประมาณ 23 กก.
ศรีษะ
โหนกยาวได้สัดส่วน บ่งบอกถึงความสมดุลกับลำตัว
หน้าผากและใบหน้าเรียบไม่ควรมีสต๊อป สันจมูกเรียบ หรืออาจจะโก่งเล็กน้อย
ขนตรงส่วนหัวจะต้องยาวนุ่มสลวย แต่ขนที่ใบหน้าต้องสั้นเกรียน
ลูกสุนัขบางตัวจะมีหนวด แต่จะหลุดออกเมื่อโตขึ้น
ฟัน -
ปาก
-
ตา
ยาวคล้ายผลอัลมอนด์
ดวงตาสีดำหรือสีคล้ำใสไม่ฝ้าฟาง
หู
ยาว
ต้องอยู่ในแนวเดียวกับตา เนื้อปลายหูจะต้องยาว เวลาวัดจะต้องยาวถึงจมูก
อย่างน้อยที่สุด ปกคลุมด้วยขนยาว
จมูก -
คอ
ยาว แข็งแรง โค้งมนได้สัดส่วน จนถึงหัวไหล่
ซึ่งยาวโค้งและลู่ไปข้างหลัง
อก
-
ลำตัว
เส้นตรงในระดับหัวไหล่ถึงสะโพกแข็งแรงและมีกระดูกสะโพกโผล่
เล็กน้อย สีข้างเรียบ
ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่เท่ากับความยาวจากข้างหน้าถึงข้างหลัง
เอว
-
ขาหน้า
ตรง
แข็งแรง
และมีช่วงยาวสวยงามระหว่างข้อศอกกับข้อพับเท้าสุนัขที่มีหัวไหล่ตรงเป็นสุนัขที่ผิดแสตนดาร์ด
ขาหลัง -
หาง
ไม่อยู่สูงเกินไปจากเส้นหลัง ต้องขดเป็นวงแหวนหรือตรง
ส่วนปลายโค้งเหมือนดาบแขก แต่จะต้องไม่ขดเหมือนก้นหอย
หางต้องไม่เบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง เวลาวิ่งหางจะต้องไม่ไปจุกที่ก้น
ขน
ปกคลุมยาวทั้งตัวยกเว้นขนหลัง
หน้าและหางมีขนปกคลุมยาวไม่มาก ลักษณะเส้นขนนุ่มเส้นบางไม่หนาหยาบ
ในสุนัขที่โตเต็มที่ขนหลังจะต้องสั้นเกรียนสีเข้มกว่าสีขนบนลำตัว
สีขน
ทุกสี เช่น ขาว ครีม เทา ดำแดง ดำเงิน
รวมไปถึงลายเสือ
สุนัขสายพันธุ์ตุรกี พอร์ยเตอร์(Turkish Pointer)
สวัสดีครับ เพื่อนๆ วันนี้ผมมีน้องหมาแปลกๆ
สายพันธุ์นึงจุดเด่นของเค้าน่าสนใจมาก มองปุ๊ป! เห็นปั๊ป! ชัดเจนมาก ว่าแต่คืออะไร
มาดูกันดีกว่า^^
Çatalburun อ่านว่า
ซาทาบูรอล
เป็นสุนัขสายพันธุ์ตุรกี พอร์ยเตอร์(Turkish Pointer) เป็นที่รู้จักกันดีด้วยลักษณะที่แปลกและเป็นจุดเด่น
ม๊าก..มาก คือจมูกที่แบ่งออกเป็นสองข้าง (split-nose) ที่จมูกของเค้ามีลักษณะแบบนี้เป็นผลมาจาก
การปรับเปลี่ยนพันธุ์กรรมของเค้า หรือบ้างก็ว่ากันว่าเป็นเพราะผลพวงจากนักล่าสัตว์ท้องถิ่นที่พยายามล่าสัตว์ในนิทานที่ไม่มีอยู่จริง
จึงทำให้เจ้าพอร์ยเตอร์ตัวนี้มีความสามารถที่เหนือกว่าสุนัขพอร์ยเตอร์โดยทั่วไป
อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์นี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมาก
ในหมู่คนรักสุนัขนอกประเทศตุรกี จึงทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในสุนัขที่หายากที่สุดของโลกครับ
การเลี้ยงดูไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด
Çatalburun สามารถดูแลในบ้านหรือในสวนขนาดเล็กได้
โดยไม่ต้องรบกวนคนอื่นๆ ที่สำคัญเค้าไม่เห่ามากและไม่รบกวนคน เค้าจะเล่นของเค้าเอง
หรือจะหาเกมให้เค้าเล่นก็ได้เหมือนการล่า เช่น เอาเชือกผูกติดกับหมวก
ติดกับไม้อีกฝั่งเหมือนตกปลาอะครับแล้วก็หลอกล่อไปมาให้ Çatalburun ฝึกล่า
ฝึกเล่น ออกกำลังกายไปในตัวด้วย
ลักษณะประจำกาย
สุนัขเหล่านี้มีความสูงประมาณ 50 ซม. น้ำหนักราว 20-25 กก. จมูกแบ่งเป็น 2
ซีก และมีขากรรไกรที่แข็งแกร่ง เนื่องจากร่างกายแข็งแรง
มีความคล่องตัวและรวดเร็วด้วย
นิสัยประจำตัว
มีความจงรักภักดีมาก เชื่อฟังสั่งสอนง่าย
เรียนรู้เร็ว ... ถึงแม้ Çatalburun
จะเป็นสุนัขล่า
แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้คนก็จะไม่เป็นอันตรายต่อเพื่อนบ้านของคุณ มันเชื่อฟังมาก
..หรือถ้าคุณไปออกล่าพาเจ้า Çatalburun
ไปด้วยไม่ต้องห่วงเลยว่าเราจะเหงา
เพราะเมื่อเรานั่งพักใต้ต้นไม้ เค้าจะมานั่งที่เท้าของเรา
และเอาหัวไสที่เท้าของเราด้วยหรือจะยืนพิง ตามติดตลอด (คิดภาพแล้วน่ารักดีเนอะ)
แต่ไม่ค่อยชอบน้ำสักเท่าไหร่ แต่ก็พอแถได้ครับ...
ความสามารถ
ในการล่านกที่เก่งมาก ทนความร้อนและเย็น และแน่นอนจมูกแบ่งเป็นสัดส่วน2ซีก
สามารถรับความรู้สึกของการได้กลิ่นยอดเยี่ยมมากทีเดียว
เริ่มต้นการล่า
Çatalburun
เรียนรู้การล่าสัตว์ตั้งแต่อายุยังน้อย
นั่นเป็นปกติของสุนัขล่า
โดยเฉพาะตัวผู้ยิ่งกว่าสุนัขล่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ เริ่มที่จะล่าสัตวอายุ 6-7
เดือนนั่นคือพวกเขาปรับตัวเข้ากับการล่าสัตว์ตั้งแต่อายุยังน้อยมาก
เป็นอย่างไรบ้างครับ เพื่อนๆ ชอบกันรึเปล่า อาจะดูแปลกๆ ไปนิดๆ ลองคิดเล่นๆ
เหมือนคนไปทำศัลยกรรมมาเลยครับเพื่อให้จมูกหายใจได้คล่องขึ้น เหอๆๆ
แต่จริงนั่นเป็นเอกลักษณ์ที่ดี ที่โดดเด่นและแตกต่างจากสุนัขทั่วไปดีนะครับ
ถ้าหากเพื่อนๆ มีสุนัขหายากในดวงใจ แนะนำได้ครับ เพื่อนำมาแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ
ต่อไปครับ^____^
การเพาะพันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
สำหรับร้าน คาสสิบา ฮัท (Kassiba
Hut) ดูเหมือนจะอยู่คู่กับเว็บเรามาตั้งแต่เริ่มทีเดียวนะครับ
ซึ่งให้การสนับสนุนกับเว็บเราเรื่อยมา มาครั้งนี้
ทางคุณหนุ่มเจ้าของร้านก็ได้ให้เกียรติกับทางเว็บนำบทความเกี่ยวกับคามิเลี่ยนมาให้เราได้อ่านกัน
โดยผู้เขียนก็ไม่ใช่ใครเป็นเจ้าของร้านที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี คุณหนุ่ม
นั่นเองซึ่งนอกจากจะเป็นผู้ขายแล้ว
คุณหนุ่มเองยังมีฟาร์มเพาะพันธุ์คาร์เมเลี่ยนของตัวเองอีกด้วย
ทำให้มีประสบการณ์ทั้งการเลี้ยงและเพาะพันธุ์เป็นอย่างดี ทั้งจากการศึกษาค้นคว้า
และประสบการณ์ที่ได้ประสบกับตัวเองนำมาบอกเล่ากันในวันนี้
การเพาะพันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (The reproduction of Chameleons)
วิธีการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (Chameleons) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด
รูปร่างก็ต่างๆกัน แนวทางการนำเข้าสัตว์จากต่างถิ่นเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งได้รับการอนุญาตจากหน่วยงาน
CITES (CITES ย่อมาจาก
Convention on
International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกฎหมายอนุสัญญาการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ
จะมีหน้าที่ดูแลเรื่องการค้าและการจำกัดจำนวนสัตว์ป่าและพืชป่าที่จะออกจากประเทศต้นกำเนิดไปยังประเทศปลายทางที่ต้องการนำเข้าสัตว์ป่าและพืชป่าของกรมอุทยาน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน มีหลากหลายชนิดด้วยกันซึ่งแตกต่างจากกิ้งก่าชนิดอื่นๆ
ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์
บางชนิดอาศัยอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง
และบางชนิดอาศัยอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศอินเดีย
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนจะพบได้ที่ทะเลทราย ป่าดิบชื้น
และบางชนิดจะอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ การที่กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่หรือลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันไปนั้น
เนื่องจากกิ้งก่าชนิดนี้มีลักษณะพิเศษเด่นในตัวของมันเอง
ไม่ว่าจะเป็นด้านสัณฐานและลักษณะกายวิภาคที่แตกต่างจากกิ้งก่าชนิดอื่นๆทั่วไป
ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนจะสำรวจว่าตัวมันเองต้องการและชอบอาศัยอยู่อย่างไร
อาทิเช่น กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนขนาดเล็ก ได้แก่ Genii Chameleo, Bradypodion และ
Brookesia ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนประเภทนี้จะขึ้นบัญชีสัตว์ป่าประเภทสอง
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสนธิสัญญา CITES และมี Brookesia permata จัดอยู่บัญชีสัตว์ป่าประเภทหนึ่ง (Appendix I ) ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนชนิดนี้ไม่สามารถจำหน่ายได้
เทคนิคการเพาะพันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (Techniques induction breeding in
chameleonids)
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนมีหลากหลายชนิดที่สามารถเพาะพันธุ์ในประเทศไทยได้
และมีแนวโน้มของความต้องการของลูกค้าต่างชาติสูง
และกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนหลายชนิดที่ชอบอากาศเย็น และมีโรงเรือนระบบปิดหรือในร่ม (Indoor) และมีการควบคุมอุณหภูมิความชื้น
การถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี
ซึ่งให้สอดคล้องกับความต้องการของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนตามหลักวิชาการ
การจัดการฟาร์มตัวอย่างของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนที่เหมาะสมกับสภาวะภูมิอากาศในประเทศไทย
ได้แก่กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเวลล์ (Chameleo
calyptratus), กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนแพนเทอร์ (Chameleo padalis), กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนมิลเลอร์
(Chameleo melleri), กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนคาร์เพท
(Chameleo lateralis) และกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนอุสตาเลท
(Chameleo oustaleti) และพันธุ์
อื่นๆที่สามารถทนสภาวะแวดล้อมเมืองไทยได้
การวางไข่ของคาร์เมเลี่ยน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คือ
1. กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนที่ออกลูกเป็นไข่ ( egg layers ) ซึ่งหลังจากวางไข่แล้วจะใช้ระยะเวลาหนึ่ง
ไข่จึงจะฟักเป็นตัว เช่น เวลล์ แพนเทอร์ คาร์เพท
2. กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนที่ออกลูกเป็นตัว ( life born )
วิธีการสังเกตว่าคาร์เมเลี่ยนสามารถเพาะพันธุ์ได้
1. การแสดงออกของการเป็นสัด
ซึ่งสังเกตจากตัวผู้จะมีพฤติกรรมผงกหัวเพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย
ส่วนตัวเมียจะมีอาการอยู่นิ่ง
พร้อมที่จะให้ตัวผู้เข้าผสมพันธุ์
2. ตัวผู้จะเข้าผสมพันธุ์กับตัวเมีย (mating periods)
3. ตัวเมียหลังถูกตัวผู้ผสมพันธุ์
แล้วก็จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นของลำตัวและตั้งท้องจนออกไข่
หรือกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนบางชนิดจะออกลูกเป็น
ตัวตามสายพันธุ์ของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
โดยมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
- พ่อแม่พันธุ์ต้องมีสุขภาพดี ไม่มีอาการขาดน้ำ
-
แม่พันธุ์จำเป็นอบย่างยิ่งที่จะต้องมีการสะสมไขมันในร่างกายและสุขภาพแข็งแรง
- ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีร่างกายสมบูรณ์
ไม่พิการ
- พ่อแม่พันธุ์ต้องไม่มีอาการบาดเจ็บ
หรือเป็นพาหะนำโรค
- พ่อแม่พันธุ์ต้องไม่มีพยาธิต่างๆ
โดยสังเกตจากมูลที่ถ่ายออกมาหรือทำการตรวจหาพยาธิในเลือด (Blood check) เพื่อตรวจหาปรสิตบางตัว
เช่น Microfilarids, Hematozoans หรือการตรวจสมดุลย์ของสารอินทรีย์ในร่างกาย
เช่น การตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
การดูแลพ่อแม่พันธุ์
หลังจากที่มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
ซึ่งจะต้องมีการนำเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย
โดยพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีใบอนุญาตนำออกของประเทศต้นทางและใบนำเข้าของประเทศไทย
ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานอนุสัญญา CITES ในประเทศไทย
ลูกที่เพาะพันธุ์ได้ต้องทำการขึ้นทะเบียนแจ้งจำนวนเพิ่มและทำเครื่องหมายของลูกกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนต่อไป
ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามานี้จำเป็นต้องมีการดูแลในเรื่องสุขภาพก่อนที่จะทำการเพาะพันธุ์
ปัญหาที่ควรทำการรักษาและดูแลอย่างยิ่งคือ เรื่องปรสิต
ควรทำการกำจัดพยาธิหรือปรสิตอย่างเร่งด่วนก่อนที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์
โดยให้สัตวแพทย์ทำการรักษา
ซึ่งในการักษาสามารถหาซื้อยาได้ทั่วไปตามโรงพยาบาลสัตว์ต่างๆซึ่งมีราคาถูก
มีประสิทธิภาพในการกำจัดพยาธิและปรสิตต่างๆ
และจะมีผลกระทบข้างเคียงกับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนน้อยมาก
สำหรับอาการป่วยของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนจะสังเกตได้จากจะมีตุ่มตามตัว
ควรดูแลตัวเขาไม่ให้เปียกตลอดเวลา ให้ถูกแสงแดดมากขึ้น ให้ Antibiotic cream ทุกเช้าจนกว่าผิวหนังจะเปลี่ยนและหายไปเอง
และบางครั้งคาร์เมเลี่ยนอาจมีอาการป่วยจากการขาดน้ำ
เราสารมารถสังเกตได้โดยดูที่ท้องมักจะลึกลงไป ตาลึก เราควรให้น้ำมากขึ้น
ในส่วนสัตว์อื่นที่มาใหม่เราจะให้ยาถ่ายพยาธิหรือบางกรณีก็จะมีการผ่าตัดเอาพยาธิออกด้วยเช่นกัน
การเพาะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (Husbandry of Chameleons)
การเพาะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
เราสามารถแบ่งทำการเพาะเลี้ยงได้ออกเป็น 2 ระบบ คือระบบเปิด (outdoor cages system) โดยเลี้ยงในโรงเรือนเปิด
ซึ่งควรเลือกชนิดของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะภูมิอากาศที่ใช้เลี้ยง
ระบบที่สองเลี้ยงในระบบปิด (indoor
cages system) โดยจะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
พันธุ์ที่ต้องการลักษณะภูมิอากาศพิเศษ เช่น เย็นชื้น
ซึ่งการเลี้ยงด้วยระบบนี้จะต้องมีการควบคุมในเรื่องของความชื้น
อุณหภูมิและการถ่ายเทของอากาศภายในโรงเรือนหรือกรงที่เลี้ยง
1. การเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนระบบเปิด (outdoor encloser) โรงเรือนหรือกรงที่เลี้ยงคาร์เมเลี่ยนแบบนี้จะต้องมีโครงสร้างแข็งแรง
ทนทาน
เลี้ยงนอกบ้านหรือกลางแจ้งโดยมีต้นไม้อยู่ด้านในกรงเพื่อเป็นที่อยู่ของคาร์เมเลี่ยน
สิ่งที่สำคัญของโรงเรือนคือ ต้องแข็งแรง มิดชิด
ป้องกันการเข้ามาของสัตว์อื่นๆที่จะมาทำอันตรายให้กับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนได้ เช่น
งู หนู นก แมว สุนัข เป็นต้น ด้านโครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเหล็กขนาดใหญ่
และมีตาข่ายป้องกันยุงและแมลงต่างๆ
มีแผ่นพลาสติกคลุมด้านบนของโรงเรือนเพื่อป้องกันฝนตก
หรือเพื่อควบคุมความชื้นภายในกรง ต้นไม้ควรเลือกที่มีใบมากๆจะสามารถรับหยดน้ำที่สเปรย์ให้กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนดื่มน้ำได้เป็นอย่างดี
เช่น ต้นโมกข์ ต้นแก้ว
2.
การเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเลี้ยงในระบบปิด (indoor encloser) เราจะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนในห้องที่ร่ม
สิ่งสำคัญที่สุดคือควรมีหลอดไฟ metal
halides ซึ่งหลอดไฟชนิดนี้จะมีรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) และรังสีอินฟาเรด
(IR) นอกจากนี้จะมีระบบการสเปรย์น้ำ
(misting system) และระบบทำความชื้น
(humidifying system) ซึ่งควรใช้ระบบน้ำวน
(osmosis water system) นอกจากนี้ควรใช้เครื่องปรับอากาศ
(air conditioning unit) เพื่อควบคุมอุณหภูมิซึ่งโรงเรือนที่เลี้ยงอาจมีการย่อยหลายๆโรงก็ได้
เพื่อแยกชนิดของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
การดูแลพ่อแม่พันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนก่อนที่จะนำมาเพาะพันธุ์
(Preparing the chameleons for breeding)
1.
พื้นที่ในการเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนควรมีขนาดใหญ่และกว้างขวางพอเท่าที่จะทำได้
2.
การควบคุมอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
ซึ่งแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
3.
อาหารและน้ำควรเตรียมอาหารที่หลากหลายส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกแมลงบางชนิดอาจให้อาหารจำพวกลูกหนู
ลูกนกได้ถ้าเป็นกิ้งก่า
คาร์เมเลี่ยนชนิดที่มีขนาดใหญ่
4.
ตัวเมียที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ต้องมีสุขภาพดี มีภาวะการเจริญเต็มวัย (sexual maturity) อย่างสมบูรณ์ตัวผู้ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์
บางชนิดตอนกลางคืนจะต้องมีการลดอุณหภูมิเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน
สิ่งที่เกิดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์กับตัวเมีย
หลักการให้อาหารพ่อแม่พันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
กิ้งก่าเพศเมียจะผลิตฮอร์โมนเพสเมีย เอสโตรเจน
โดยอาศัยพลังงานและสารอาหารต่างๆ เพื่อที่จะไปช่วยผลิตไข่และเกิดการตกไข่ในเพศเมีย
สารอาหารที่จำเป็นในระบบสืบพันธุ์เพสเมีย ได้แก่ โปรตีน
ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ นอกจากนี้กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนยังต้องการกรดไขมัน
และสารอาหารที่จำเป็นต่างๆ
สารอาหารต่างๆเหล่านี้จะไปเลี้ยงให้กับตัวอ่อนของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
ซึ่งอาจจะไปสะสมในไข่แดง สำหรับพันธุ์ที่ออกลูกเป็นไข่
หรือสารอาหารต่างๆเหล่านี้ผ่านไปยังตัวอ่อนของ
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนทางรก (placentas)
สำหรับพันธุ์ที่ออกลูกเป็นตัว
ประเภทอาหารทีมีคุณค่าทางโภชนการสูงสำหรับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเป็นสัตว์ที่กินเนื้อ
ซึ่งส่วนใหญ่จะกินแมลงเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังกินสัตว์น้ำเล็กๆ เช่น หอย, กิ้งก่าตัวเล็ก, ลูกนกฅ
ลูกหนู นิยมเลี้ยงด้วยจิ้งหรีด นอกจากนี้แมลงและหนอนชนิดต่างๆ
สามารถเป็นอาหารของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนได้ ซึ่งหาได้ทั่วไป ได้แก่
- หนอนไหม (Silkworms)
- หนอนยักษ์ (Giant mealworms)
- แมลงวันบ้าน (House flies
- แมลงหวี่ ( Fruit flies)
- หนอนรังผึ้ง (Wax worms)
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนต้องการโปรตีนในการเลี้ยงตัวอ่อน และช่วยในการสร้างไข่
ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนต้องการสารอาหารปริมาณที่เหมาะสม
ส่วนในเพศผู้ต้องการโปรตีน และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างน้ำเชื้อ
สุดท้ายอยากฝากถึงผู้เลี้ยงทุกท่านนะครับว่าการเลี้ยงคาร์เมเลี่ยนนั้นควรศึกษาค้นคว้าข้อมูลให้ดีเสียก่อน
เพราะว่ากิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเป็นสัตว์ที่มีความทนทานน้อยกว่าสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่นๆ
ซึ่งผมหวังว่าบทความเหล่านี้คงจะพอเป็นแนวทางให้ท่านที่ต้องการเพาะพันธุ์หรือ
ต้องการศึกษาข้อมูลได้บ้าง หรือมีข้อสงสัยอะไรที่ผมไม่อาจบรรยายในนี้ได้หมด
ขอเชิญเข้ามาปรึกษาที่ร้านได้ตลอดเลยนะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)