สำหรับร้าน คาสสิบา ฮัท (Kassiba
Hut) ดูเหมือนจะอยู่คู่กับเว็บเรามาตั้งแต่เริ่มทีเดียวนะครับ
ซึ่งให้การสนับสนุนกับเว็บเราเรื่อยมา มาครั้งนี้
ทางคุณหนุ่มเจ้าของร้านก็ได้ให้เกียรติกับทางเว็บนำบทความเกี่ยวกับคามิเลี่ยนมาให้เราได้อ่านกัน
โดยผู้เขียนก็ไม่ใช่ใครเป็นเจ้าของร้านที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี คุณหนุ่ม
นั่นเองซึ่งนอกจากจะเป็นผู้ขายแล้ว
คุณหนุ่มเองยังมีฟาร์มเพาะพันธุ์คาร์เมเลี่ยนของตัวเองอีกด้วย
ทำให้มีประสบการณ์ทั้งการเลี้ยงและเพาะพันธุ์เป็นอย่างดี ทั้งจากการศึกษาค้นคว้า
และประสบการณ์ที่ได้ประสบกับตัวเองนำมาบอกเล่ากันในวันนี้
การเพาะพันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (The reproduction of Chameleons)
วิธีการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (Chameleons) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด
รูปร่างก็ต่างๆกัน แนวทางการนำเข้าสัตว์จากต่างถิ่นเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งได้รับการอนุญาตจากหน่วยงาน
CITES (CITES ย่อมาจาก
Convention on
International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกฎหมายอนุสัญญาการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ
จะมีหน้าที่ดูแลเรื่องการค้าและการจำกัดจำนวนสัตว์ป่าและพืชป่าที่จะออกจากประเทศต้นกำเนิดไปยังประเทศปลายทางที่ต้องการนำเข้าสัตว์ป่าและพืชป่าของกรมอุทยาน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน มีหลากหลายชนิดด้วยกันซึ่งแตกต่างจากกิ้งก่าชนิดอื่นๆ
ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์
บางชนิดอาศัยอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง
และบางชนิดอาศัยอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศอินเดีย
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนจะพบได้ที่ทะเลทราย ป่าดิบชื้น
และบางชนิดจะอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ การที่กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่หรือลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันไปนั้น
เนื่องจากกิ้งก่าชนิดนี้มีลักษณะพิเศษเด่นในตัวของมันเอง
ไม่ว่าจะเป็นด้านสัณฐานและลักษณะกายวิภาคที่แตกต่างจากกิ้งก่าชนิดอื่นๆทั่วไป
ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนจะสำรวจว่าตัวมันเองต้องการและชอบอาศัยอยู่อย่างไร
อาทิเช่น กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนขนาดเล็ก ได้แก่ Genii Chameleo, Bradypodion และ
Brookesia ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนประเภทนี้จะขึ้นบัญชีสัตว์ป่าประเภทสอง
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสนธิสัญญา CITES และมี Brookesia permata จัดอยู่บัญชีสัตว์ป่าประเภทหนึ่ง (Appendix I ) ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนชนิดนี้ไม่สามารถจำหน่ายได้
เทคนิคการเพาะพันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (Techniques induction breeding in
chameleonids)
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนมีหลากหลายชนิดที่สามารถเพาะพันธุ์ในประเทศไทยได้
และมีแนวโน้มของความต้องการของลูกค้าต่างชาติสูง
และกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนหลายชนิดที่ชอบอากาศเย็น และมีโรงเรือนระบบปิดหรือในร่ม (Indoor) และมีการควบคุมอุณหภูมิความชื้น
การถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี
ซึ่งให้สอดคล้องกับความต้องการของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนตามหลักวิชาการ
การจัดการฟาร์มตัวอย่างของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนที่เหมาะสมกับสภาวะภูมิอากาศในประเทศไทย
ได้แก่กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเวลล์ (Chameleo
calyptratus), กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนแพนเทอร์ (Chameleo padalis), กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนมิลเลอร์
(Chameleo melleri), กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนคาร์เพท
(Chameleo lateralis) และกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนอุสตาเลท
(Chameleo oustaleti) และพันธุ์
อื่นๆที่สามารถทนสภาวะแวดล้อมเมืองไทยได้
การวางไข่ของคาร์เมเลี่ยน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คือ
1. กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนที่ออกลูกเป็นไข่ ( egg layers ) ซึ่งหลังจากวางไข่แล้วจะใช้ระยะเวลาหนึ่ง
ไข่จึงจะฟักเป็นตัว เช่น เวลล์ แพนเทอร์ คาร์เพท
2. กิ้งก่าคาร์มิเลี่ยนที่ออกลูกเป็นตัว ( life born )
วิธีการสังเกตว่าคาร์เมเลี่ยนสามารถเพาะพันธุ์ได้
1. การแสดงออกของการเป็นสัด
ซึ่งสังเกตจากตัวผู้จะมีพฤติกรรมผงกหัวเพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย
ส่วนตัวเมียจะมีอาการอยู่นิ่ง
พร้อมที่จะให้ตัวผู้เข้าผสมพันธุ์
2. ตัวผู้จะเข้าผสมพันธุ์กับตัวเมีย (mating periods)
3. ตัวเมียหลังถูกตัวผู้ผสมพันธุ์
แล้วก็จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นของลำตัวและตั้งท้องจนออกไข่
หรือกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนบางชนิดจะออกลูกเป็น
ตัวตามสายพันธุ์ของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
โดยมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
- พ่อแม่พันธุ์ต้องมีสุขภาพดี ไม่มีอาการขาดน้ำ
-
แม่พันธุ์จำเป็นอบย่างยิ่งที่จะต้องมีการสะสมไขมันในร่างกายและสุขภาพแข็งแรง
- ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีร่างกายสมบูรณ์
ไม่พิการ
- พ่อแม่พันธุ์ต้องไม่มีอาการบาดเจ็บ
หรือเป็นพาหะนำโรค
- พ่อแม่พันธุ์ต้องไม่มีพยาธิต่างๆ
โดยสังเกตจากมูลที่ถ่ายออกมาหรือทำการตรวจหาพยาธิในเลือด (Blood check) เพื่อตรวจหาปรสิตบางตัว
เช่น Microfilarids, Hematozoans หรือการตรวจสมดุลย์ของสารอินทรีย์ในร่างกาย
เช่น การตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
การดูแลพ่อแม่พันธุ์
หลังจากที่มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
ซึ่งจะต้องมีการนำเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย
โดยพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีใบอนุญาตนำออกของประเทศต้นทางและใบนำเข้าของประเทศไทย
ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานอนุสัญญา CITES ในประเทศไทย
ลูกที่เพาะพันธุ์ได้ต้องทำการขึ้นทะเบียนแจ้งจำนวนเพิ่มและทำเครื่องหมายของลูกกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนต่อไป
ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามานี้จำเป็นต้องมีการดูแลในเรื่องสุขภาพก่อนที่จะทำการเพาะพันธุ์
ปัญหาที่ควรทำการรักษาและดูแลอย่างยิ่งคือ เรื่องปรสิต
ควรทำการกำจัดพยาธิหรือปรสิตอย่างเร่งด่วนก่อนที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์
โดยให้สัตวแพทย์ทำการรักษา
ซึ่งในการักษาสามารถหาซื้อยาได้ทั่วไปตามโรงพยาบาลสัตว์ต่างๆซึ่งมีราคาถูก
มีประสิทธิภาพในการกำจัดพยาธิและปรสิตต่างๆ
และจะมีผลกระทบข้างเคียงกับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนน้อยมาก
สำหรับอาการป่วยของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนจะสังเกตได้จากจะมีตุ่มตามตัว
ควรดูแลตัวเขาไม่ให้เปียกตลอดเวลา ให้ถูกแสงแดดมากขึ้น ให้ Antibiotic cream ทุกเช้าจนกว่าผิวหนังจะเปลี่ยนและหายไปเอง
และบางครั้งคาร์เมเลี่ยนอาจมีอาการป่วยจากการขาดน้ำ
เราสารมารถสังเกตได้โดยดูที่ท้องมักจะลึกลงไป ตาลึก เราควรให้น้ำมากขึ้น
ในส่วนสัตว์อื่นที่มาใหม่เราจะให้ยาถ่ายพยาธิหรือบางกรณีก็จะมีการผ่าตัดเอาพยาธิออกด้วยเช่นกัน
การเพาะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน (Husbandry of Chameleons)
การเพาะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
เราสามารถแบ่งทำการเพาะเลี้ยงได้ออกเป็น 2 ระบบ คือระบบเปิด (outdoor cages system) โดยเลี้ยงในโรงเรือนเปิด
ซึ่งควรเลือกชนิดของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะภูมิอากาศที่ใช้เลี้ยง
ระบบที่สองเลี้ยงในระบบปิด (indoor
cages system) โดยจะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
พันธุ์ที่ต้องการลักษณะภูมิอากาศพิเศษ เช่น เย็นชื้น
ซึ่งการเลี้ยงด้วยระบบนี้จะต้องมีการควบคุมในเรื่องของความชื้น
อุณหภูมิและการถ่ายเทของอากาศภายในโรงเรือนหรือกรงที่เลี้ยง
1. การเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนระบบเปิด (outdoor encloser) โรงเรือนหรือกรงที่เลี้ยงคาร์เมเลี่ยนแบบนี้จะต้องมีโครงสร้างแข็งแรง
ทนทาน
เลี้ยงนอกบ้านหรือกลางแจ้งโดยมีต้นไม้อยู่ด้านในกรงเพื่อเป็นที่อยู่ของคาร์เมเลี่ยน
สิ่งที่สำคัญของโรงเรือนคือ ต้องแข็งแรง มิดชิด
ป้องกันการเข้ามาของสัตว์อื่นๆที่จะมาทำอันตรายให้กับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนได้ เช่น
งู หนู นก แมว สุนัข เป็นต้น ด้านโครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเหล็กขนาดใหญ่
และมีตาข่ายป้องกันยุงและแมลงต่างๆ
มีแผ่นพลาสติกคลุมด้านบนของโรงเรือนเพื่อป้องกันฝนตก
หรือเพื่อควบคุมความชื้นภายในกรง ต้นไม้ควรเลือกที่มีใบมากๆจะสามารถรับหยดน้ำที่สเปรย์ให้กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนดื่มน้ำได้เป็นอย่างดี
เช่น ต้นโมกข์ ต้นแก้ว
2.
การเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเลี้ยงในระบบปิด (indoor encloser) เราจะเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนในห้องที่ร่ม
สิ่งสำคัญที่สุดคือควรมีหลอดไฟ metal
halides ซึ่งหลอดไฟชนิดนี้จะมีรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) และรังสีอินฟาเรด
(IR) นอกจากนี้จะมีระบบการสเปรย์น้ำ
(misting system) และระบบทำความชื้น
(humidifying system) ซึ่งควรใช้ระบบน้ำวน
(osmosis water system) นอกจากนี้ควรใช้เครื่องปรับอากาศ
(air conditioning unit) เพื่อควบคุมอุณหภูมิซึ่งโรงเรือนที่เลี้ยงอาจมีการย่อยหลายๆโรงก็ได้
เพื่อแยกชนิดของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
การดูแลพ่อแม่พันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนก่อนที่จะนำมาเพาะพันธุ์
(Preparing the chameleons for breeding)
1.
พื้นที่ในการเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนควรมีขนาดใหญ่และกว้างขวางพอเท่าที่จะทำได้
2.
การควบคุมอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
ซึ่งแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
3.
อาหารและน้ำควรเตรียมอาหารที่หลากหลายส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกแมลงบางชนิดอาจให้อาหารจำพวกลูกหนู
ลูกนกได้ถ้าเป็นกิ้งก่า
คาร์เมเลี่ยนชนิดที่มีขนาดใหญ่
4.
ตัวเมียที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ต้องมีสุขภาพดี มีภาวะการเจริญเต็มวัย (sexual maturity) อย่างสมบูรณ์ตัวผู้ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์
บางชนิดตอนกลางคืนจะต้องมีการลดอุณหภูมิเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน
สิ่งที่เกิดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์กับตัวเมีย
หลักการให้อาหารพ่อแม่พันธุ์กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
กิ้งก่าเพศเมียจะผลิตฮอร์โมนเพสเมีย เอสโตรเจน
โดยอาศัยพลังงานและสารอาหารต่างๆ เพื่อที่จะไปช่วยผลิตไข่และเกิดการตกไข่ในเพศเมีย
สารอาหารที่จำเป็นในระบบสืบพันธุ์เพสเมีย ได้แก่ โปรตีน
ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ นอกจากนี้กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนยังต้องการกรดไขมัน
และสารอาหารที่จำเป็นต่างๆ
สารอาหารต่างๆเหล่านี้จะไปเลี้ยงให้กับตัวอ่อนของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
ซึ่งอาจจะไปสะสมในไข่แดง สำหรับพันธุ์ที่ออกลูกเป็นไข่
หรือสารอาหารต่างๆเหล่านี้ผ่านไปยังตัวอ่อนของ
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนทางรก (placentas)
สำหรับพันธุ์ที่ออกลูกเป็นตัว
ประเภทอาหารทีมีคุณค่าทางโภชนการสูงสำหรับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเป็นสัตว์ที่กินเนื้อ
ซึ่งส่วนใหญ่จะกินแมลงเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังกินสัตว์น้ำเล็กๆ เช่น หอย, กิ้งก่าตัวเล็ก, ลูกนกฅ
ลูกหนู นิยมเลี้ยงด้วยจิ้งหรีด นอกจากนี้แมลงและหนอนชนิดต่างๆ
สามารถเป็นอาหารของกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนได้ ซึ่งหาได้ทั่วไป ได้แก่
- หนอนไหม (Silkworms)
- หนอนยักษ์ (Giant mealworms)
- แมลงวันบ้าน (House flies
- แมลงหวี่ ( Fruit flies)
- หนอนรังผึ้ง (Wax worms)
กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนต้องการโปรตีนในการเลี้ยงตัวอ่อน และช่วยในการสร้างไข่
ซึ่งกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนต้องการสารอาหารปริมาณที่เหมาะสม
ส่วนในเพศผู้ต้องการโปรตีน และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างน้ำเชื้อ
สุดท้ายอยากฝากถึงผู้เลี้ยงทุกท่านนะครับว่าการเลี้ยงคาร์เมเลี่ยนนั้นควรศึกษาค้นคว้าข้อมูลให้ดีเสียก่อน
เพราะว่ากิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเป็นสัตว์ที่มีความทนทานน้อยกว่าสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่นๆ
ซึ่งผมหวังว่าบทความเหล่านี้คงจะพอเป็นแนวทางให้ท่านที่ต้องการเพาะพันธุ์หรือ
ต้องการศึกษาข้อมูลได้บ้าง หรือมีข้อสงสัยอะไรที่ผมไม่อาจบรรยายในนี้ได้หมด
ขอเชิญเข้ามาปรึกษาที่ร้านได้ตลอดเลยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น