สัตว์เลี้ยงตระกูลฟันแทะ
กำลังเป็นกระแสฮิตที่เลี้ยงกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอยู่ในตอนนี้ และหนึ่งในนั้นก็ไม่พลาดที่จะเป็น
“เจอร์บัว” สัตว์ที่ผู้เลี้ยงเฉพาะกลุ่มคุ้นเคยกันดี ด้วยลักษณะรูปร่างเล็กและท่าทางว่องไวคล้ายจิงโจ้ย่อส่วน
ทำให้คนที่ได้เห็นต่างติดตาตรึงใจในความน่ารักของมันเลยทันที แต่ขอเตือน! อย่างหนึ่งว่าอย่าประมาทกับความสามารถของเจ้าตัวเล็กนี้
เพราะกระโดดได้สูงและรวดเร็ว ถ้าหากหลุดมือไป รับรองได้เลยว่าวิ่งไล่จับกันไม่ทัน ชัวร์!
อียิปต์ เกรทเทอร์ เจอร์บัว
(Greater Egyptian Jerboa) เรียกชื่อสั้นๆว่า เกรทเทอร์
เจอร์บัว ผู้ขายหลายคนรู้จักกันในชื่อนี้ ส่วนผู้เลี้ยงจะเรียกชื่อแค่ว่า “เจอร์บัว” เจ้าตัวเล็กนี้เป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะแห่งท้องทะเลทราย
และด้วยลักษณะการกระโดดคล้ายกับจิงโจ้ จึงมีบางคนให้สมญานามว่า Jumping Mouse มีถิ่นกำเนิดอาศัยอยู่ในทะเลทรายประเทศอียิปต์
แอฟริกาใต้ และยาวไปจนถึงทวีปเอเชียในแถบทะเลทรายโกบี มองโกเลีย
จิงโจ้น้อยแห่งทะเลทราย
หนูเจอร์บัว เป็นสัตว์ทะเลทรายทนแล้ง
หน้าตาดูคล้ายกับหนูผสมจิงโจ้แต่ตัวเล็กกว่ามาก มีขนสีน้ำตาลเหมือนหนูทั่วไป จุดเด่นสำคัญ
คือลักษณะของขาหลังที่ยาวกว่าขาหน้าเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่และบังคับทิศทางด้วยพู่หางที่สวยงาม
มีหางที่ยาวใหญ่เมื่อเทียบกับตัวของมันเองซึ่งเล็กกว่ามาก เวลายืนจะใช้การเกร็งหางเสมือนเป็นขาที่สามในการช่วยทรงตัว
เมื่อโตเต็มที่มีขนาดความยาวรวมหาง 150-162 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ
24-38 กรัม
ต๊ะ-ฐิติภูมิ พันธุเวทย์
ผู้มีประสบการณ์การเลี้ยงและขายสัตว์เลี้ยงทางอินเทอร์เน็ต เล่าให้ฟังว่า เจอร์บัวเป็นหนูทะเลทรายที่มีความสามารถในการเดินทางระยะไกลโดยการกระโดดสปริงของขาหลังคล้ายกับจิงโจ้
ส่วนขาหน้าที่สั้นจะใช้ในการหยิบจับอาหาร (ถ้าไม่สังเกตดีๆ จะมองไม่เห็นเลย) ขนเล็กๆ
บนฝ่าเท้าของมันเหมือนรองเท้าที่ช่วยให้กระโดดไปได้บนพื้นทะเลทราย มีดวงตาสีดำกลมโตเนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินกลางคืน
ประกอบกับมีใบหูยาวใหญ่ใช้ในการรับฟังเสียงความเคลื่อนไหวรอบๆ ตัวเพื่อระวังภัย
ถือได้ว่าเป็นหนูตัวเล็กชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย
ชอบขุดรูอยู่ในชั้นดินทราย แยกห้องเป็นสัดส่วน มีวิวัฒนาการการปรับตัวทั้งในเรื่องของสรีระและขนาดตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
ช่วยให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมของทะเลทราย และเนื่องด้วยสภาพอากาศอันร้อนระอุในทะเลทรายตอนกลางวัน
ทำให้พวกมันต้องขุดทรายลงไปเป็นที่ซ่อนตัวเพื่อหลบความร้อนและความหนาวในตอนกลางคืน
ฉะนั้นพวกมันจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศในทะเลทราย
หนูเจอร์บัวจะออกหากินเวลากลางคืน
สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานโดยไม่ต้องกินน้ำหรืออาหารถ้าร่างกายยังมีความชื้น กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช
ผักต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ตามทะเลทรายหรือพืชประเภทหัวมัน หัวเผือก และอาจกินแมลงตัวเล็กๆ
เป็นบางครั้ง มีการสะสมอาหารไว้ในโพรงชั้นใต้ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมันนั่นเอง
เห็นตัวเล็กๆ อย่างเจอร์บัวแต่มีความสามารถเฉพาะจนน่าทึ่งเมื่อเทียบกับตัวแล้ว
เพราะสามารถกระโดดได้สูงเป็นเมตรและมีความเร็วเป็นพิเศษ เหมือนอย่างที่บอกไปในตอนต้น
อย่าปล่อยให้หลุดมือในที่สาธารณะหรือที่มีพื้นที่กว้างขวางเกินกว่าจะวิ่งไล่จับ ถ้าเกิดหลุดไปแล้วก็พยายามช่วยกันจับ
ขอบอกก่อนว่าวิ่งไล่จับคนเดียวไม่มีทางทัน แนะนำให้ทยอยคนมาช่วยกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ขอย้ำ! คนเยอะๆ ยิ่งดี เพราะงานนี้ไม่หมูเพราะเขาเป็นหนูนั่นเอง
อยู่ง่าย-กินง่าย
สำหรับการเลี้ยงในประเทศไทย
หนูเจอร์บัวเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไม่ยาก อยู่ง่าย กินง่าย และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในเมืองไทยได้เป็นอย่างดี
ลักษณะตัวที่เล็กคล้ายจิงโจ้ย่อส่วน จึงทำให้ดูน่ารักปนความแปลกใหม่กว่าสัตว์ประเภทหนูชนิดอื่น
หลายคนจึงไม่พลาดที่จะเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่นยามว่าง
“หนูเจอร์บัวเป็นสัตว์เชื่องในระดับที่สามารถอุ้มเล่นได้
จับลูบตัวได้ไม่มีปัญหา สามารถให้กินอาหารจากมือได้ แต่คงไม่สามารถอุ้มเล่นได้ตลอดเวลาเหมือนหนูแฮมสเตอร์
เพราะด้วยสรีระของขาที่ยาวและเก้งก้าง บางทีเราอุ้มมาแล้วให้ยืนบนฝ่ามือ เขาจะทรงตัวไม่ค่อยมั่นคงสักเท่าไหร่
พอเวลาเขารู้สึกไม่มั่นคงก็จะกระโดด คนเลี้ยงอาจให้ออกมาวิ่งเล่นอยู่ในห้องแต่ไม่ควรเลี้ยงปล่อยไว้เลย
เพราะว่าพวกนี้เป็นหนูชนิดหนึ่งที่ชอบแทะ จึงอาจเป็นอันตรายได้ถ้าปล่อยไว้ในบ้านโดยไม่มีคนดูแล”
สภาพอากาศที่เย็นสบายในเมืองไทย
จึงทำให้สัตว์ชนิดนี้ออกมาหากินได้ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าในทะเลทรายจะมีอากาศที่แตกต่างจากในไทยมาก
แต่ด้วยสภาพอากาศในไทยเอื้อต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสัตว์จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการปรับสภาพร่างกายสำหรับหนูเจอร์บัวเท่าไหร่นัก
“เลี้ยงในบ้านอากาศเย็นปกติ
มันก็ออกมากินอาหารได้ตลอด กลางวันกินแล้วก็นอน ดึกๆ ก็ออกมากินใหม่ ดังนั้นการเลี้ยงในไทยจึงไม่ต้องซีเรียสว่า
ตอนกลางวันจะไม่เห็นตัว เวลาเขาคุ้นที่ เขาจะออกมาหากินอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าในธรรมชาติตอนกลางวันบนพื้นที่ทะเลทรายมันร้อน
เขาจึงต้องขุดโพรงไปอยู่ชั้นใต้ดินเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อน และออกหากินในตอนกลางคืนที่อากาศเย็นลงเท่านั้นเอง”
อาหารการกินของหนูเจอร์บัวไม่ต่างอะไรกับการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์
สำหรับอาหารโปรดหลักๆ แล้วจะชอบกินเมล็ดทานตะวัน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป
ฉะนั้นในสถานที่เลี้ยงจึงควรมีถ้วยอาหารและถ้วยน้ำเล็กๆ ให้ไว้พร้อมสรรพ
ตู้เลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติ
ถ้าพูดถึงในเรื่องของตู้เลี้ยง
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรใส่ใจคือลักษณะของพื้นที่เลี้ยงเจอร์บัว ไม่ควรเลี้ยงในที่แคบเนื่องจากเป็นสัตว์เคลื่อนที่ด้วยการกระโดด
เพราะฉะนั้นถ้าอยู่ในพื้นที่แคบๆ จึงทำให้ไม่สามารถกระโดดได้ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพและอาจเป็นสาเหตุของอาการป่วยอย่างหนึ่งได้เช่นกัน
“ถ้าเลี้ยง 2 ตัว ต้องใช้พื้นที่เลี้ยงประมาณ 36”x 18”x20” ขึ้นไป (ตู้ปลาขนาดใหญ่) เพื่อจะได้มีพื้นที่ให้เขาออกกำลังกาย
ได้กระโดด จริงๆ แล้วเป็นสัตว์ที่สามารถเดินได้แต่ถนัดในการเคลื่อนที่แบบกระโดดมากกว่าการเดิน
ถ้าเขาต้องการเคลื่อนที่มากกว่า 1 ฟุตจะใช้การกระโดด แต่ถ้าเก็บเมล็ดอาหารบริเวณใกล้ๆ
ตัวจะใช้การขยับตัวเพื่อก้าวนิดเดียว
ไม่แนะนำให้เลี้ยงในกรง
เพราะกรงมีพื้นเป็นซี่ลวด ด้วยลักษณะขาของสัตว์ชนิดนี้ค่อนข้างเล็กและยาว เมื่อเข้าไปขัดในซี่ลวดแล้วเขาเคลื่อนย้ายด้วยการกระโดด
บางทีอาจทำให้ขาหักหรือบาดเจ็บได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้เลี้ยงในตู้กระจกมากกว่า และด้านบนทำเป็นมุ้งลวดมีฝาปิดเพื่อช่วยให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น”
“ถ้ามีธุระนอกบ้าน คนเลี้ยงสามารถให้อาหารทิ้งไว้ได้เลย
เมื่ออาหารหมด น้ำหมดก็เติมใหม่ อย่างที่ผมเลี้ยงไว้ ผมจะให้อาหารทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วันจึงเปลี่ยนครั้งหนึ่ง ก็จะเป็นเมล็ดพืชหลายๆ ชนิดรวมกัน ใส่ถ้วยไว้เลย
ถ้าหมดก็ให้อาหารเม็ดเหมือนที่ใช้เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์แทนซึ่งใช้ได้เหมือนกัน เราแค่คอยดูว่ามันหมดหรือยังเท่านั้นเอง”
บางครั้งอาจเสริมพวกผักใบเขียวโดยล้างสารพิษให้หมดเสียก่อน
เพราะว่าในธรรมชาติหนูเจอร์บัวจะกินพืช จำพวกหญ้าที่ขึ้นในทะเลทราย เราอาจใช้หญ้าแห้งทิโมธีสำหรับเลี้ยงกระต่าย
(Timothy) มารองพื้นให้ เพราะบางครั้งหนูเจอร์บัวก็กินหญ้าแห้งพวกนี้แทนหญ้าในธรรมชาติเช่นกัน
ส่วนเรื่องของโรคถ้าเราให้อาหารเป็นปกติและหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
พวกโรคภัยไข้เจ็บ เช่นอาการท้องเสียก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้น ฉะนั้นเวลาผู้นำเข้าสัตว์เลี้ยงที่ดี
หรือร้านค้าที่ดีควรจะกักเลี้ยงอย่างน้อยสักประมาณ 1
สัปดาห์ เพื่อให้สัตว์ปรับตัวและหลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไรแล้วในการเลี้ยงหนูเจอร์บัว
แต่ถ้าในขณะเลี้ยงเกิดขนร่วงเนื่องจากติดเชื้อราก็ต้องรักษาตามอาการไป
แต่โดยส่วนใหญ่ถ้าเจ้าของหมั่นทำความสะอาดไม่ให้มีราขึ้นในตู้เลี้ยง สัตว์เลี้ยงของเราก็จะปลอดภัยและแข็งแรง
“ฉะนั้นเวลาเลือกซื้อเจอร์บัว
ควรสังเกตตัวที่ไม่ผอมจนเกินไปและมีขนที่เรียบ เพราะถ้าสัตว์มีขนยุ่ง สกปรก ไม่ทำความสะอาดขนตัวเอง
แสดงว่าสัตว์ชนิดนั้นกำลังมีอาการป่วย เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วสัตว์ตระกูลหนูจะมีการดูแลตัวเองค่อนข้างดีอยู่แล้ว
หรืออาจเลือกซื้อจากร้านขายที่ดูแลความสะอาดค่อนข้างดี ฉะนั้นเรื่องความสะอาดมีผลต่อสุขภาพของเจอร์บัวอย่างมาก”
“ราคาขาย” ขึ้นอยู่กับต้นทุน
ในประเทศไทยยังไม่มีใครนำเข้ามาเลี้ยงแล้วเพาะพันธุ์ได้ลูกออกมา
เนื่องจากเจอร์บัวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างSensitiveและพิถีพิถัน เพราะว่าในธรรมชาติแล้ว
เจอร์บัวจะขุดโพรงอยู่ในทะเลทรายซึ่งลึกลงไปเป็นเมตร ภายในโพรงจะแยกห้องเป็นสัดส่วน
แต่เมื่อคนเอามาเลี้ยง หลายคนจะเลี้ยงในตู้เลี้ยง ดังนั้นลักษณะที่อยู่อาศัยของสัตว์จึงผิดไปจากธรรมชาติ
บางครั้งสามารถให้ลูกได้ก็จริงแต่ไม่เลี้ยงลูก เพราะเป็นสัตว์ที่ตื่นคนง่าย จึงยังไม่มีผู้เพาะพันธุ์คนใดที่สามารถเลี้ยงลูกน้อยเติบโตแล้วอยู่รอดได้เลยในเมืองไทย
“แต่ในเมืองนอกนั้นเขาสามารถเลี้ยงเพาะพันธุ์ได้
แต่จะต้องออกแบบตู้สำหรับเลี้ยงดูเป็นพิเศษ อย่างที่เห็นในต่างประเทศเขาจะทำเป็นตู้กระจกสองชั้น
ชั้นบนจะใส่ดินไว้หนาๆ ส่วนชั้นล่างจะเป็นดินอย่างเดียวเลย แล้วเจาะเป็นท่อจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง
ซึ่งเป็นการจำลองให้มีขนาดความยาวเท่ากับในธรรมชาติ เจอร์บัวก็จะลงไปเลี้ยงลูกอยู่ข้างล่าง”
“เนื่องจากการผสมพันธุ์ที่ได้ลูกยาก
เจอร์บัวในไทยจึงมาโดยการนำเข้า เราไม่สามารถรู้ได้แน่นอนว่าสัตว์เหล่านั้นมีอายุเท่าไหร่
แต่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่โตในระยะผสมฉะนั้นการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์จึงต้องทำลักษณะที่อยู่
จำลองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้ สำหรับในประเทศไทยคนส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างหนึ่งเหมือนสัตว์อื่นทั่วๆ
ไป จึงไม่มีใครคิดเพาะพันธุ์ ฉะนั้นลักษณะพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงจะเป็นตู้กระจก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับตู้ปลาแล้วนำมารองพื้นด้วยดินสูงในระดับหนึ่งพันธุ์ได้แล้วซึ่งมี
ค่อนข้างเยอะในประเทศอียิปต์ โดยเขาจะเปิดโควตาว่าปีนี้สามารถส่งออกได้กี่ตัว โดยส่วนใหญ่ผู้นำเข้าจะมีการติดต่อทางเจ้าของฟาร์มอยู่แล้ว จากนั้นทางผู้ส่งออก (อียิปต์) จะทำเอกสารไซเตสเพื่อใช้สำหรับการส่งออกสัตว์ คือถ้าสัตว์ชนิดไหนติดบัญชีไซเตส 1 คือห้ามซื้อขาย และที่สามารถซื้อขายได้คือไซเตส 2 และ 3 ฉะนั้นถ้าตัวไหนติดไซเตส 2
และ 3แต่ถ้ามีเอกสารถูกต้องครบถ้วนก็ส่งออกได้ เมื่อมาถึงประเทศไทยเจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารไซเตสอีกครั้ง และถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้นำเข้าได้”
จำลองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้ สำหรับในประเทศไทยคนส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างหนึ่งเหมือนสัตว์อื่นทั่วๆ
ไป จึงไม่มีใครคิดเพาะพันธุ์ ฉะนั้นลักษณะพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงจะเป็นตู้กระจก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับตู้ปลาแล้วนำมารองพื้นด้วยดินสูงในระดับหนึ่งพันธุ์ได้แล้วซึ่งมี
ค่อนข้างเยอะในประเทศอียิปต์ โดยเขาจะเปิดโควตาว่าปีนี้สามารถส่งออกได้กี่ตัว โดยส่วนใหญ่ผู้นำเข้าจะมีการติดต่อทางเจ้าของฟาร์มอยู่แล้ว จากนั้นทางผู้ส่งออก (อียิปต์) จะทำเอกสารไซเตสเพื่อใช้สำหรับการส่งออกสัตว์ คือถ้าสัตว์ชนิดไหนติดบัญชีไซเตส 1 คือห้ามซื้อขาย และที่สามารถซื้อขายได้คือไซเตส 2 และ 3 ฉะนั้นถ้าตัวไหนติดไซเตส 2
และ 3แต่ถ้ามีเอกสารถูกต้องครบถ้วนก็ส่งออกได้ เมื่อมาถึงประเทศไทยเจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารไซเตสอีกครั้ง และถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้นำเข้าได้”
“สำหรับขั้นตอนการนำเข้าหรือการติดต่อเอกสาร
บางคนอาจใช้ลักษณะโบรกเกอร์หรือชิปปิ้งในการติดต่อประสานงาน ซึ่งในแต่ละปีมีการนำเข้าเฉลี่ยปีละ
1-2 ครั้งเท่านั้น และมีจำนวนกว่า 100 ตัวเลยทีเดียว ร้านค้าย่อยก็จะรับช่วงขายต่อถึงมือผู้เลี้ยงอีกทีหนึ่ง”
ปัจจุบันเจอร์บัวมีราคาขายในตลาดทั่วไปอยู่ที่
2,500-3,000 บาท ราคาขายนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องการติดต่อ การนำเข้า จึงไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงเช่นกระต่ายที่เพาะพันธุ์ง่ายและมีเลี้ยงในไทยจำนวนมาก
ยิ่งถ้ามีลักษณะดี สีสวยก็จะมีราคาแพงขึ้น แต่เจอร์บัวมีสีและลักษณะเหมือนกันในทุกตัว
ยิ่งถ้ามีลักษณะดี สีสวยก็จะมีราคาแพงขึ้น แต่เจอร์บัวมีสีและลักษณะเหมือนกันในทุกตัว
สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
อย่างที่รู้กันดีว่าแมวเป็นศัตรูตัวฉกาจของหนูตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ในการ์ตูน “ทอมแอนด์เจอร์รี่” ก็สะท้อนเรื่องราวของคู่ปรับระหว่างแมวกับหนูได้เป็นอย่างดี
ฐานะที่หนูเจอร์บัวเป็นผู้ถูกล่าตลอดกาล จึงต้องระวังไม่ให้สัตว์คู่กัดทั้งสองชนิดนี้อยู่ใกล้กัน
น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
สำหรับฉบับนี้ผู้เขียนเองก้อได้นำเอาข้อมูลของเจ้าเจอร์บัวมาให้ศึกษาถึงอุปนิสัยและการกินของมันหวังคงจะถุกใจท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น